เครื่องช่วยหายใจ BiPAP
เครื่องช่วยหายใจ ชนิดแรงดัน 2 ระดับ : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ประโยชน์ของเครื่องช่วยหายใจ
ชนิด Noninvasive positive-pressure ventilation (NIPPV)
เครื่อง BiPAP ประโยชน์คือ ช่วยลดอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจและอัตราการครองเตียงและอัตราการตาย โดยเริ่มแรกได้มีการนำไปใช้ในภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันในผู้ป่วยถุงลมโป่งพอง (acute exacerbation of COPD) ต่อมาจึงมีการนำไปใช้ในภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันชนิดอื่น เช่น จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด (hypercapnic) หรือ ภาวะพร่องก๊าซออกซิเจนในเลือด (hypoxic respiratory failure) ในภาวะน้าท่วมปอดจากหัวใจทางานล้มเหลว(Cardiogenic Pulmonary Edema)
Bilevel Positive Airway Pressure (BiPAP)
BiPAP ประกอบด้วยเครื่องช่วยผลักลมเข้าปอดขณะหายใจเข้าและมีความดันคงค้างในปอดในช่วงหายใจออก โดยจะกำหนด inspiratory positive airway pressure (IPAP) และ expiratory positive airway pressure (EPAP) ไว้ให้เครื่องทำงานตามความดันที่ตั้งไว้เพื่อช่วยหายใจ โดยมักตั้ง IPAP สูงกว่า EPAP เสมอ ซึ่งค่าแตกต่างระหว่าง 2 ค่านี้จึงมีค่าเท่ากับแรงดันที่เครื่องผลักลมเข้าปอดเพื่อช่วยหายใจ
BiPAP ใช้กลไก pressure limited และ flow triggered ผู้ป่วยจะกระตุ้นเครื่องให้ช่วยหายใจเข้า IPAP จะเพิ่มความดันเพื่อผลักลมเข้าปอด
แก่ผู้ป่วยและคงค้างความดันในปอดไว้นาน 200 msec- 3sec จากนั้นเมื่อผู้ป่วยเริ่มหายใจออกก็จะคงค้างความดันในปอดไว้มีค่าเท่ากับ EPAP ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดการทางานของผู้ป่วย วิธีนี้นิยมใช้ในผู้ป่วยโรคถุงลมปอดโป่งพองที่มีอาการกำเริบเกิดขึ้น, pulmonary edema, ปอดอักเสบ และ status asthmaticus สาหรับหน้ากากที่เลือกใช้ก็อาจเป็นแบบครอบเฉพาะจมูกหรือครอบทั้งปากและจมูก (nasal mask/face mask) เพื่อช่วยหายใจก็ได้
Bi-level pressure devices
Mode หรือรูปแบบการใช้งานของเครื่อง BiPAP มี 4 Mode ให้เลือก ได้แก่
CPAP (Continuous Positive Airway Pressure)
S (Spontaneous)
T (Timed)
S/T (Spontaneous/Timed)
PCV (Pressure-controlled Ventilation)
ที่มา
เครื่องเป่าความดันลมเพื่อเปิดขยายทางเดินทายใจ(Positive Airway Pressure, PAP) Therapy (ตอนที่ 1) , รศ.นพ.วิชญ์ บรรณหิรัญ ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=669)
การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิด Noninvasive Positive Pressure Ventilation(NIPPV) ชนิด BiPaP ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล (กรณีศึกษา) , คณิต เต็มไตรรัตน์ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (http://www.errama.com/system/spaw2/uploads/files/BiPaP%20in%20ER.pdf)