ตรวจสุขภาพการนอนหลับ





การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep test ) คืออะไร
การตรวจสุขภาพการนอนหลับ เป็นการตรวจสำคัญที่ใช้เพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆของร่างกายระหว่างการนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ  
ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจและกล้ามเนื้อ รวมถึงศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะหลับด้วย 
ปัจจุบันถือว่าเป็นการตรวจมาตรฐานสากล (gold standard) สำหรับการวินิจฉัยโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (obstructive sleep apnea; OSA) รวมถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆและพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เป็นต้น 

เมื่อไหร่จึงควรรับการตรวจ Sleep test
ข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการตรวจ sleep test ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหานอนกรนดังผิดปกติ หรือมีอาการง่วงนอนกลางวันมากผิดปกติทั้งๆที่ได้นอนอย่างเพียงพอแล้ว 
ผู้ที่มีอาการหายใจลำบาก และสงสัยว่าจะมีการ
หยุดหายใจขณะหลับ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการนอนผิดปกติอื่นๆ เช่น นอนแขนขากระตุก นอนกัดฟัน หรือ นอนละเมอ นอนฝันร้าย สะดุ้งตื่นเป็นประจำ เป็นต้น โดยผู้รับการตรวจควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคการนอนหลับโดยตรง หรือแพทย์สาขาที่เกี่ยวข้องเช่น หู คอ จมูก, อายุรแพทย์, หรือกุมารแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ เพื่อสอบถามประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนและหลังการตรวจ
เพื่อพิจารณาทางเลือกในการตรวจและรักษาแบบต่างๆ

 

ประโยชน์ของการตรวจ Sleep test
            เป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐาน (standard investigation) ที่ใช้ในการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของโรค ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea; OSA) ซึ่งจะมีผลต่อการวางแผนและการตัดสินใจทางเลือกในการรักษา เช่น อาจใช้ในการตั้งค่าความดันลม (Pressure titration) 
กรณีที่รักษาโรคด้วยเครื่องเป่าความดันลมบวกเพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ (Continuous positive airway pressure; CPAP
การปรับระดับของเครื่องมือในช่องปาก (oral appliances) นอกจากนี้ยังใช้พิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดทางเดินหายใจ
และใช้ติดตามผลการรักษา ตลอดจนช่วยในการวินิจฉัยโรคความผิดปกติอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการนอนได้อีกด้วย

 ระดับที่ การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบจำกัดข้อมูล (Limited channel portable sleep test) 
การตรวจนี้จะมีเพียงการตรวจ ลมหายใจ การเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง การวัดระดับออกซิเจนในเลือด การวัดระดับเสียงกรน บางครั้งรวมคลื่นหัวใจ
ร่วมด้วย
 หรือการตรวจการนอนหลับจากระบบหลอดเลือดและประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น การตรวจแบบนี้อาจมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระดับ 1 และ 2 อย่างไรก็ตามผลการตรวจมักได้ค่าความรุนแรงต่ำกว่าความเป็นจริง 
เนื่องจากไม่ได้วัดคลื่นสมอง จึงไม่สามารถประเมิน ประสิทธิภาพในการนอน
รวมระยะความลึกของการนอน ทำให้ผลตรวจมีความแม่นยำน้อยกว่า

แหล่งที่มา : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=668


 



ตรวจสอบสิทธิการรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ